เพจ facebook : รังสิตซิตี้ที่นี่ปทุมธานี

อนุสรณ์สถานแห่งชาติ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตบรรจบกับถนนพหลโยธิน มีเนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นทั้งอนุสรณ์สถานเทิดทูนวีรกรรมบรรพบุรุษไทย ที่ได้ใช้สติปัญญา ความสามารถตลอดจนเลือดเนื้อและชีวิต เข้าปกป้องผืนพสุธามาตุภูมิแห่งนี้ไว้ และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ชาติไทยตลอดจนเหตุการณ์รบครั้งสำคัญของไทย และสงครามที่กองทัพไทยได้ไปปฏิบัติการรบในต่างประเทศ อาทิ สงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี โดยใช้หุ่นจำลองเหตุการณ์ และภาพถ่าย มีห้องจัดแสดงวิวัฒนาการเครื่องแบบ เครื่องหมายยศของทหารทุกยุคสมัย ดินจากสมรภูมิรบที่สำคัญ ด้านหน้าอาคารประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักด้วยหินอ่อนขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง และที่น่าสนใจมากคืออาคารภาพปริทัศน์ แสดงภาพจิตรกรรมอันงดงามบนผนังโค้งวงกลม เรื่องราวจากสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันประกอบเสียงคำบรรยาย รวมความยาวโดยรอบถึง 90 เมตร ด้านนอกจัดแสดงวัตถุยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ปลดประจำการ ประวัติความเป็นมา
การที่ประเทศไทยดำรงความเป็นเอกราช มีสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ให้คนไทยภาคภูมิใจอยู่ได้จนทุกวันนี้ เนื่องจากมีผู้กล้าหาญเป็นจำนวนมาก สละเลือดเนื้อและชีวิตของตนเป็นชาติพลีสืบต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย บรรพชนเหล่านั้น นับว่ามีบุญคุณต่อลูกหลานไทยอย่างใหญ่หลวง คนไทยทุกคนจึงควรรำลึกอยู่เสมอว่า ถ้าปราศ จากท่านแล้ว เราคงไม่มีแผ่นดินอาศัยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตราบเท่าทุกวันนี้ เพื่อเป็นการ รำลึกถึงผู้กล้าหาญที่เสียชีวิตในการรบครั้งสำคัญ ๆ ทางรัฐบาลจึงได้จัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อ บรรจุอิฐของผู้เสียชีวิตเหล่านั้นคือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา ที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พิทักษ์ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๖ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ระลึกสำหรับผู้เสียชีวิตในกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศสและสงครามมหาเอเชียบูรพา ต่อมาได้มีการสู้รบเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง เช่น สงครามเกาหลี สงคราม เวียดนาม การป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย รวมทั้งผู้ที่เสียชีวิตในการป้องกันรักษา ความมั่นคงภายใน บรรดาผู้ที่เสียชีวิตเหล่านี้มีทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพเป็นประจำทุกปี สำหรับอิฐ ของผู้พลีชีพเพื่อชาติเหล่านี้ยังคงเก็บรวบรวมไว้ และยังมิได้จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอนุสรณ์ เพื่อบรรจุอิฐอย่างสมเกียรติ ดังนั้น พลเอก สายหยุด เกิดผล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดขณะนั้น จึงได้ พิจารณาจัดทำโครงการจัดสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติเป็นส่วนรวมขึ้น และได้นำ โครงการนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ขออนุมัติหลักการโครงการจัดสร้าง ฯ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ ที่ ประชุมมีมติเห็นชอบและอนุมัติหลักการให้จัดสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ ได้ตามที่ กระทรวงกลาโหมเสนอ ต่อมาคณะกรรมการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ได้รับ โครงการนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปีด้วย กระทรวงกลาโหม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ เรียกว่า คณะกรรมการจัดสร้างอาคารอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ โดยมี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธาน รองเสนาธิการทหาร รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น กรรมการ เจ้ากรมการศึกษาวิจัย (กรมยุทธศึกษาทหาร ในปัจจุบัน) เป็นกรรมการและ เลขานุการ หัวหน้ากองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมการศึกษาวิจัย (ผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร ในปัจจุบัน) เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีมีมติ อนุมัติให้ใช้พื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมดอนเมือง ช่วงถนนวิภาวดีรังสิตบรรจบกับถนนพหลโยธิน พื้นที่ ๓๘ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพอากาศ เป็นสถานที่ จัดสร้างอนุสรณ์วีรชนแห่งชาติ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชธรรมเจติยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการจัดหารายได้เข้ากองทุนอนุสรณ์สถานแห่งชาติ มี พลเอก นฤดล เดชประดิยุทธ์ เป็นประธานอนุกรรมการ ได้มา เยี่ยมชมอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ พฤกษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖มีจิตเมตตาจัดสร้าง รูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง โดยแกะสลักด้วยหินอ่อน สีขาว (ไว้ท์คาราร่า) ที่ดีที่สุดในโลกจากประเทศอิตาลี ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในการแกะสลักหินอ่อน จากประเทศอิตาลี คือ ดร.เปาโล เวียกกิ มาทำการแกะสลักที่วัดธรรมมงคล ค่าใช้จ่ายประมาณ ๓ ล้านบาท หลังแกะสลักเสร็จ ได้ทำพิธีอัญเชิญพระบรมรูป ฯ จากวัดธรรมมงคลทำพิธีบวงสรวงและเฉลิมฉลองที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๗ และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หน้าอาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๗ ชั้น๑ --สนามรบ ๕ เหตุการณ์
จัดแสดงหุ่นจำลองขนาดเท่าของจริงในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของสงครามที่กองทัพไทยได้ปฏิบัติการณ์รบ ๕ เหตุการณ์ โดยใช้ระบบแสงเสียงประกอบคำบรรยาย และแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยของเหตุการณ์รบ คือ สงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสงครามกับ เยอรมนี และออสเตรีย – ฮังการีกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เรียกร้องดินแดนคืน และปรับปรุงเส้นกั้นเขตแดนไทย – อินโดจีนฝรั่งเศสจากรัฐบาลฝรั่งเศส ได้รับการ ปฏิเสธจนเกิดกรณีพิพาทขึ้นสงครามมหาเอเชียบูรพา วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นส่งกองทัพเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ๆ ในเอเชียบูรพา และประเทศไทยจำเป็นต้องยินยอมให้ญี่ปุ่นใช้เป็นทางผ่าน และประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาสงครามเกาหลี รัฐบาลไทยส่งกำลังทหารไปช่วยรบในสงครามเกาหลี ตามคำร้องขอขององค์การสหประชาชาติ เพื่อสกัดกั้นนโยบายขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์สงครามเวียดนาม รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามขอความช่วยเหลือทางทหารและ ทางเศรษฐกิจต่อประเทศฝ่ายโลกเสรี เพื่อต่อต้านการรุกรานแทรกซึมของเวียดนามซึ่งมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ชั้น2 จารึกนามผู้เสียชีวิตเพื่อประเทศชาติที่ผนังกำแพง เป็นห้องเกียรติยศ และนิทรรศการหมุนเวียนจารึกนามผู้เสียชีวิตเพื่อประเทศชาติที่ผนังกำแพงภายนอกอาคาร ที่ผนังกำแพงแก้วโดยรอบอาคารประวัติศาสตร์ ชั้นที่ ๒ จารึกนามผู้กล้าหาญ ซึ่งเสียชีวิตจากการรบเพื่อป้องกันประเทศชาติ ดังนี้ -เสรีไทย
-สงครามโลกครั้งที่๑ จำนวน ๑๙ คน
-กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส จำนวน ๑๘๑ คน
-สงครามมหาเอเชียบูรพา จำนวน ๑๗๒ คน
-สงครามเกาหลี จำนวน ๑๘๐ คน
-สงครามเวียดนาม จำนวน ๕๗๓ คน
- การปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และรักษาความมั่นคงภายใน จำนวน ๕,๓๐๐ คน
ห้องเกียรติยศ
ภายในอาคารเป็นสถานที่จัดแสดงเพื่อเชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ประวัติวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่ปฏิบัติการรบด้วยความกล้าหาญและเสียสละ และมีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี และเหรียญกล้าหาญ ในการป้องกันประเทศชาติ เพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นการปลุกใจให้อนุชนรุ่นหลัง ได้รำลึกถึงและเชิดชูวีรกรรมของผู้กล้าหาญเหล่านั้น รวมทั้งจัดแสดงเหตุการณ์ที่สำคัญประกอบดังนี้ จัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในการเสด็จเยี่ยมเหล่าทหารระหว่างการปฏิบัติการในพื้นที่การรบ จารึกลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บทโคลงพระราชนิพนธ์ “สยามานุสสติ” จารึกรายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี และเหรียญกล้าหาญ จัดแสดงแท่นประกาศเกียรติคุณและภาพถ่าย พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของผู้เสียสละชีวิตที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีและเหรียญกล้าหาญจัดแสดงวีรกรรมทหารไทยในยุทธภูมิการรบต่างๆ เช่น ยุทธภูมิเขาค้อ ยุทธภูมิช่องช้าง ยุทธภูมิช่องบกยุทธภูมิทุ่งซาง ยุทธภูมิโนนหมากมุ่น ยุทธภูมิพูพานน้อย วีรกรรมทหารไทยในการรบ ณ ประเทศเกาหลีใต้ (พอร์คชอพ) ประเทศสาธารณรัฐเวียดนามใต้ (ฟุคโถ) พร้อมการจำลองสมรภูมิ บนโต๊ะทรายและภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ จัดแสดงหุ่นจำลอง “เทิดเกียรตินักรบกล้า” เพื่อแสดงความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างทหาร ตำรวจ และพลเรือนในการป้องกันประเทศชาติ จัดแสดงประติมากรรมนูนต่ำ แสดงการรบและวีรกรรมทหารไทยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๑ จนถึงการปราบผู้ก่อการร้าย จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ และวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการรบต่าง ชั้น3 แสดงหุ่นจำลองขนาดย่อ ของวีรกรรมบุคคลสำคัญ ๑๔ เหตุการณ์
ชั้นที่ 4 วิวัฒนาการเครื่องแบบทหารไทย
เครื่องแบบทหาร เครื่องแต่งกายที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษให้แต่งเหมือน ๆ กันเฉพาะคนหมู่หนึ่งคณะหนึ่ง เช่น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ พลเรือน นางพยาบาล นักเรียน นักศึกษา พนักงาน รักษาความปลอดภัย เป็นต้น การจัดทำเครื่องแบบหน่วยงานต่าง ๆ มีความมุ่งหมายดังนี้
๑. ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกายและป้องกันความร้อน ความหนาว จึงเป็นปัจจัยจำเป็น ประการหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ ๒. เพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม
๓. เพื่อแสดงฝ่ายและสังกัด
๔. เพื่อแสดงยศ ตำแหน่ง ต่าง ๆ
๕. เฉพาะเครื่องแบบของทหารนอกจากข้อ ๑-๔ แล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ในเรื่อง - การซ่อนพรางให้กลมกลืนกับภูมิประเทศ
- ทำให้เป็นที่เกรงขาม ข่มขวัญข้าศึก
- ป้องกันอันตรายจากอาวุธ และสารเคมี เช่น เสื้อเกราะ หน้ากากป้องกันไอพิษ ชุดทนไฟ (เสื้อยันต์อาจอนุโลมเข้าอยู่ในประเภทนี้ บางครั้งเราเรียกเสื้อยันต์ว่า เสื้อเกราะ) เครื่องแบบส่วนใหญ่จะกำหนดที่สีสันของผ้า และรูปแบบ เน้นความสง่างามเพื่อให้ผู้สวมใส่เกิดความภาคภูมิใจ และเป็นที่นิยมแก่ผู้พบเห็น เป็นการเชิดชูเกียรติแก่หน่วยงานนั้น ๆ ด้วย การแต่งเครื่องแบบ น่าจะเกิดขึ้นในหน่วยงานของทหารก่อนหน่วยงานอื่น ๆ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องมีเครื่องแบบแสดงความเป็นพวกเดียวกันอย่างชัดเจน เพราะเมื่อเกิดสงครามเข้ารบพุ่ง ตะลุมบอนกัน จะได้มีเครื่องสังเกตว่าคนไหนเป็นพวกเดียวกับตน และคนไหนเป็นข้าศึกศัตรู เป็น การป้องกันการฆ่าฟันพวกเดียวกันเอง เครื่องแบบทหารไทย ชนชาติไทยมีกองทหารมาตั้งแต่เริ่มรวบรวมชนเผ่า และตั้งขึ้นเป็นราชอาณาจักร นับเนื่องแต่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงกรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ได้จัดแสดงการวิวัฒนาการเครื่องแบบ เครื่องแต่งกายทหารด้วยหุ่น จำลองขนาดเท่าคน จริงในอาคารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร ชั้นที่ ๔ ดังนี้ การแต่งกายของนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่
- กองทัพบก
- กองทัพเรือ
- กองทัพอากาศ
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- การแต่งกายสมัยก่อนสุโขทัย
เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น.และ 13.00-15.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หมู่คณะต้องการผู้บรรยายควรติดต่อล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2532 1020-1 สามารถใช้บริการรถประจำทางสาย 29, 34, 39, 59, 95, ปอ. 503, ปอ. 504, ปอ. 510, ปอ. 513, ปอ. 524, ปอ. 529 และ ปอ. 539 ![]()
|