ReadyPlanet.com
ปทุมธานี

 
ประวัติความเป็นมาจังหวัดปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ปี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือเมื่อพุทธศักราช ๒๒๐๒ มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ต่อมาแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ ๒ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่สามโคก และครั้งสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะ เข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า " มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจากชุมชนที่ขนาดเล็ก "บ้านสามโคก" จึงกลายเป็น "เมืองสามโคก" ในกาลต่อมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกไม่ได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน ๑๑ พุทธศักราช ๒๓๕๘ ได้เสด็จประพาสที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหลนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯถวายราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" ซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชื่อเมืองประทุมธานีจึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
 
ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน"เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ยุบจังหวัดธัญบุรีขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๗๕
 
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนาม เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์มีศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์อื่นๆเป็นของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานีภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ตัวเมืองปทุมธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือประมาณ ๔๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๖๕ ตารางกิโลเมตร
เเบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมเเก้ว ธัญบุรี หนองเสือ คลองหลวง และลำลูกกา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
1.               ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
2.               ต้นไม้ประจำจังหวัด: ปาริชาต (Erythrina variegata)
3.               คำขวัญประจำจังหวัด: ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
4.               เพลงประจำจังหวัด: เพลงนิราศเมืองปทุม
 
 
 
 
ที่ว่าการอำเภอ
1.               ที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี 
ที่ตั้งถนนเทศปทุม ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000โทร.02593 3545
พื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 14 ตำบล ได้แก่
 
1.               บางปรอก
2.               บ้านใหม่
3.               บ้านกลาง
4.               บ้านฉาง
5.               บ้านกระแชง
6.               บางคูวัด
7.               บางหลวง
8.               บางเดื่อ
9.               บางพูด
10.         บางพูน
11.         บางกะดี
12.         สวนพริกไทย
13.         หลักหก
อำเภอเมืองปทุมธานีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
1.               เทศบาลเมืองปทุมธานี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปรอกทั้งตำบล
2.               เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านฉาง ตำบลบางหลวง และตำบลบางเดื่อ
3.               เทศบาลตำบลบางกะดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกะดีทั้งตำบล
4.               เทศบาลตำบลบางคูวัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูวัดทั้งตำบล
5.               เทศบาลตำบลหลักหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักหกทั้งตำบล
6.               องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
7.               องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
8.               องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านฉาง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
9.               องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกระแชงทั้งตำบล
10.         องค์การบริหารส่วนตำบลบางขะแยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขะแยงทั้งตำบล
11.         องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
12.         องค์การบริหารส่วนตำบลบางเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเดื่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
13.         องค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพูดทั้งตำบล
14.         องค์การบริหารส่วนตำบลบางพูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพูนทั้งตำบล
15.         องค์การบริหารส่วนตำบลสวนพริกไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนพริกไทยทั้งตำบล
 
2.               ที่ว่าการอำเภอคลองหลวง
ที่ตั้งเลขที่ 33 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทร.02524 0356
อำเภอคลองหลวงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล ได้แก่
1.               คลองหนึ่ง
2.               คลองสอง
3.               คลองสาม
4.               คลองสี่
5.               คลองห้า
6.               คลองหก
7.               คลองเจ็ด
 อำเภอคลองหลวงมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
1.               เทศบาลเมืองท่าโขลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากเหนือของถนนคลองหลวง
2.               เทศบาลเมืองคลองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากใต้ของถนนคลองหลวง
3.               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสามทั้งตำบล
4.               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสี่ทั้งตำบล
5.               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองห้าทั้งตำบล
6.               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหกทั้งตำบล
7.               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเจ็ดทั้งตำบล
 
3.               ที่ว่าการอำเภอธัญบุรี
ที่ตั้งหมู่ที่ 4 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110 โทร.02577 1885
พื้นที่อำเภอธัญบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 6 ตำบล ได้แก่ 
1.               ประชาธิปัตย์
2.               บึงยี่โถ
3.               รังสิต
4.               ลำผักกูด
5.               บึงสนั่น
6.               บึงน้ำรักษ์
อำเภอธัญบุรีประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
1.               เทศบาลเมืองรังสิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ทั้งตำบล (ทางรถไฟสายเหนือ-คลองสาม)
2.               เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์ทั้งตำบล (คลองเก้า-คลองสิบสี่)
3.               เทศบาลตำบลธัญบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังสิตและตำบลลำผักกูดทั้งตำบล (คลองห้า-คลองเก้า)
4.               เทศบาลตำบลบึงยี่โถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงยี่โถทั้งตำบล (คลองสาม-คลองห้า)
 
4.               ที่ว่าการอำเภอลำลูกกา
ที่ตั้ง หมู่ที่ 21 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 โทร.02569199
พื้นที่อำเภอลำลูกกาแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 8 ตำบล
1.               คูคต
2.               ลาดสวาย
3.               บึงคำพร้อย
4.               ลำลูกกา
5.               บึงทองหลาง
6.               ลำไทร
7.               บึงคอไห
8.               พืชอุดม 
อำเภอลำลูกกาประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
1.               เทศบาลเมืองคูคต ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคูคต
2.               เทศบาลเมืองลำสามแก้ว
3.               เทศบาลตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลำไทร
4.               เทศบาลตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงคำพร้อยและบางส่วนของตำบลลำลูกกา
5.               องค์การบริหารส่วนตำบลลาดสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดสวายทั้งตำบล
6.               องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคำพร้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลลำลูกกา)
7.               องค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำลูกกา (นอกเขตเทศบาลตำบลลำลูกกา)
8.               องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงทองหลางทั้งตำบล
9.               องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไทร (นอกเขตเทศบาลตำบลลำไทร)
10.         องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคอไหทั้งตำบล
11.         องค์การบริหารส่วนตำบลพืชอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพืชอุดมทั้งตำบล
 
5.               ที่ว่าการอำเภอหนองเสือ
ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ถนนเลียบคลองสิบ ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 12170  โทร 0 2549 1042
พื้นที่อำเภอหนองเสือแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 7 ตำบล
1.               บึงบา
2.               บึงบอน
3.               บึงกาสาม
4.               บึงชำอ้อ
5.               หนองสามวัง
6.               ศาลาครุ
7.               นพรัตน์
อำเภอหนองเสือประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
1.                เทศบาลตำบลหนองเสือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงบา
2.                องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงบา (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองเสือ)
3.                องค์การบริหารส่วนตำบลบึงบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงบอนทั้งตำบล
4.                องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกาสามทั้งตำบล
5.                องค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงชำอ้อทั้งตำบล
6.                องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสามวังทั้งตำบล
7.               องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาครุทั้งตำบล
8.               องค์การบริหารส่วนตำบลนพรัตน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนพรัตน์ทั้งตำบล
 
6.               ที่ว่าการอำเภอลาดหลุมแก้ว
ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ถนนปทุมธานี-บางเลน ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 12140 โทร 0 2599 1272
พื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้วแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 7 ตำบล 
1.               ระแหง
2.               ลาดหลุมแก้ว
3.               คูบางหลวง
4.               คูขวาง
5.               คลองพระอุดม
6.               บ่อเงิน
7.               หน้าไม้
อำเภอลาดหลุมแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
1.               เทศบาลตำบลระแหง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลระแหง
2.               เทศบาลตำบลคลองพระอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพระอุดมทั้งตำบล
3.               องค์การบริหารส่วนตำบลระแหง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระแหง (นอกเขตเทศบาลตำบลระแหง)
4.               องค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดหลุมแก้วทั้งตำบล
5.               องค์การบริหารส่วนตำบลคูบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูบางหลวงทั้งตำบล
6.               องค์การบริหารส่วนตำบลคูขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูขวางทั้งตำบล
7.               องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเงินทั้งตำบล
8.               องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าไม้ทั้งตำบล
 
7                  ที่ว่าการอำเภอสามโคก
ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ถนนสามโคก-เสนา ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160 โทร. 0 2593 1348
พื้นที่อำเภอสามโคกแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 11 ตำบล
1.               บางเตย
2.               คลองควาย
3.               สามโคก
4.               กระแชง
5.               บางโพธิ์เหนือ
6.               เชียงรากใหญ่
7.               บ้านปทุม
8.               บ้านงิ้ว
9.               เชียงรากน้อย
10.         บางกระบือ
11.         ท้ายเกาะ 
อำเภอสามโคกประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
1.               เทศบาลตำบลบางเตย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเตย
2.               องค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเตย (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเตย) และตำบลคลองควายทั้งตำบล
3.               องค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามโคกทั้งตำบล
4.               องค์การบริหารส่วนตำบลกระแชง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระแชงทั้งตำบล
5.               องค์การบริหารส่วนตำบลบางโพธิ์เหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโพธิ์เหนือทั้งตำบล
6.               องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงรากใหญ่ทั้งตำบล
7.               องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปทุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านปทุมทั้งตำบล
8.               องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านงิ้วทั้งตำบล
9.               องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงรากน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงรากน้อยทั้งตำบล
10.         องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระบือทั้งตำบล
11.         องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายเกาะทั้งตำบล